ประวัติ


 ประวัติ OPEC

        กลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก (Organization of Petroleum Exporting Countries : OPEC) กลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก เป็นองค์การนานาชาติที่จัดตั้งขึ้นเพื่อความร่วมมือ ทางด้านนโยบายน้ำมัน และช่วยเหลือด้านเทคนิคเศรษฐกิจแก่ประเทศสมาชิก ประวัติการก่อตั้ง โอเปคจัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2503 โดยอิหร่าน คูเวต ซาอุดิอาระเบีย และเวเนซุเอลา ต่อมามีสมาชิกเพิ่มอีก 8 ประเทศ ได้แก่ กาตาร์ อินโดนีเซีย ลิเบีย สหรัฐอาหรับ เอมิเรตส์ แอลจีเรีย ไนจีเรีย เอกวาดอร์ และกาบอง รวมเป็นสมาชิก 13 ประเทศ ต่อมาเอกวาดอร์ลาออกเมื่อ พ.ศ.2535 และกาบองลาออก พ.ศ. 2538 ปัจจุบันจึงเหลือสมาชิกเพียง 11 ประเทศ
     เดิมโอเปคมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ต่อมาในพ.ศ.2508 ได้ย้ายไปอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง ในระยะเริ่มต้นในการก่อตั้งกลุ่มโอเปคขึ้นมา การขุดเจาะน้ำมันในประเทศสมาชิก ต่างเป็นการลงทุนและดำเนินการโดยบริษัทต่างชาติ ประเทศเจ้าของบ่อน้ำมันได้รับค่าภาคหลวงตอบแทน ซึ่งเป็นผลประโยชน์ส่วนน้อย การร่วมมือของกลุ่มโอเปคในช่วงนี้ จึงมีจุดมุ่งหมาย สำคัญ 3 ประการ ดังนี้
     1. เพื่อเจรจากับบริษัทผู้ไดรับสัมปทานการตั้งกองทุนน้ำมันดิบให้เท่ากันทุกประเทศ
     2. เพื่อนำราคาน้ำมันดิบที่เป็นผลมาจากการเจรจาใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณเป็น รายได้ของประเทศ
     3. เพื่อเป็นอำนาจต่อรองในการยึดครองหรือโอนกิจการน้ำมันเป็นของรัฐต่อไป กลุ่มโอเปคได้ดำเนินงานไปตามจุดประสงค์จนได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และต่อมาเมื่อมีสมาชิก เพิ่มขึ้นอีก 8 ประเทศ ทำให้มีอำนาจต่อรองมากขึ้นและขยายวัตถุประสงค์เพื่อรักษา ผลประโยชน์ของประเทศสมาชิกมากขึ้นคือ
     1. เพื่อปกป้องราคาน้ำมันตกต่ำและเจรจาขายน้ำมันดิบในเงื่อนไขที่ดี
     2. เพื่อเก็บภาษีเงินได้จากบริษัทผู้ผลิตน้ำมันในอัตราที่สูงขึ้น
     3. เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการประกาศขึ้นราคาน้ำมัน ผลการปฏิบัติงาน ในปัจจุบันโอเปคเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีอิทธิพลสูงมากทั้งระบบเศรษฐกิจและ การเมืองระหว่างประเทศ เพราะมนุษย์จำเป็นต้องใช้พลังงานที่มาจากน้ำมันแต่เหตุที่ ประเทศสมาชิกของกลุ่มโอเปคมีสภาพเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมวัฒนธรรมแตกต่างกัน ทั้งยังมีปริมาณน้ำมันสำรองไม่เท่ากันอีกด้วย การกำหนดราคาและโควตาการผลิตน้ำมันของกลุ่มโอเปค ในระยะหลังมานี้มักไม่มีเอกภาพ กล่าวคือ ประเทศคูเวต กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ต่างเป็นประเทศที่มีน้ำมันสำรองอยู่มาก และมีความมั่นคง ของเศรษฐกิจ สามารถปฏิบัติตามมติของโอเปคได้ แต่ประเทศอิหร่าน แม้มีปริมาณน้ำมันสำรอง อยู่มากแต่หลังสงครามกับอิรักแล้วต้องลักลอบผลิตน้ำมันออกจำหน่ายเกินโควตาที่โอเปคให้ไว้ เพื่อนำเงินมาฟื้นฟูบูรณะประเทศ ประเทศอิรักมีแหล่งน้ำมันสำรองมากประเทศหนึ่ง แต่ได้รับความเสียหายจากสงครามกับอิหร่านและพ่ายแพ้สงครามในการปิดล้อมคูเวต ซึ่งสหประชาชาติได้ออกมาตรการต่างๆ มากำหนด ทำให้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันได้ อย่างจำกัดมาก ส่วนประเทศไนจีเรียมีปริมาณน้ำมันสำรองน้อยเพราะเป็นประเทศยากจน และมีจำนวนประชากรมาก
          จึงต้องผลิตน้ำมันเกินโควตาและจำหน่ายในราคาที่ต่ำกว่า ที่โอเปคกำหนด กิจกรรมสำคัญ
ที่โอเปคดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2516 เป็นต้นมาคือ การปรับราคาน้ำมันดิบ ซึ่งได้กระทำ
หลายครั้งจนราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มขึ้นมาก ทำให้ประเทศผู้ส่งน้ำมันดิบ เป็นสินค้าออกเหล่านี้มีบานะร่ำรวยขึ้น และได้นำเงินตราเหล่านี้ไปใช้เสริมสร้างความมั่นคง และพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ นอกจากนี้สมาชิกของกลุ่มโอเปคยังได้จัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือประเทศที่กำลังพัฒนา โดยเฉพาะประเทศอาหรับที่มิได้เป็นสมาชิกของโอเปคและประเทศอื่นที่ประชากรบางส่วน นับถือศาสนาอิสลาม  ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศโอเปค ได้แก่ การติดต่อค้าขายน้ำมันและ ด้านแรงงานที่ไทยมักส่งไปประเทศเหล่านี้ ส่วนการติดต่อกันในด้านอื่นนับว่ามีน้อย
แม้กลุ่มประเทศโอเปคจะเป็นกลุ่มที่ใช้น้ำมันเป็นเครื่องต่อรองกับประเทศต่างๆทั่วโลกทั้งด้าน เศรษฐกิจและการเมือง และประเทศไทยก็เคยได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากการขึ้นราคาน้ำมันของกลุ่มโอเปค แต่ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกลุ่มโอเปคยังมีอยู่ สรุปได้ดังนี้
 1.  ทางด้านการค้า ไทยยังมีการค้าขายกับกลุ่มโอเปค โดยนำเข้าน้ำมันจากประเทศเหล่านนี้โดยเฉพาะประเทศโอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และซาอุดิอาระเบีย และสินค้าออก
ที่สำคัญของไทยที่ส่งไปยังกลุ่มประเทศเหล่านี้ได้แก่ ข้าวโพด ข้าว เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย
และเครื่องหนัง
 2.  ทางด้านแรงงาน เป็นเรื่องที่สำคัญและน่าสนใจอีกเรื่องหนึ่ง เพราะไทยได้จัดส่งแรงงาน เข้าไปทำงานในประเทศกลุ่มโอเปคเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นที่รัฐบาลไทยต้องติดตาม และให้ความคุ้มครองช่วยเหลือ ประเทศกลุ่มโอเปคที่คนไทยไปทำงานกันมากได้แก่ ลิเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และคูเวต ส่วนในประเทศอิรัก หลังสงครามอ่าวเปอร์เซียแล้ว จำนวนคนงานไทยลดลงและไม่มีแรงงานไทยอีก เมื่อเกิดสงครามและอดีตประธานาธิบดี ซัดดัมถูกโค่นอำนาจ
3.  ด้านการเมือง มักเป็นความสำคัญทางด้านการทูตและการเยี่ยมเยือนเพื่อกระชับ
สัมพันธไมตรีของผู้นำประเทศ
4.  อื่นๆ กลุ่มโอเปคได้ให้ความช่วยเหลือในเรื่องเงินกู้ ส่วนไทยให้ความสะดวก
แก่ประเทศเหล่านี้โดยการให้นักวิชาการมาดูงานในไทย โดยเฉพาะการเกษตร

แหล่งที่มา : http://www.thaigoodview.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น